แผนกลยุทธ์การพัฒนาสหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด จังหวัดลำปาง ปี 2567 - 2571

ภายในปี 2571 สหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด จะเป็นองค์กรที่บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล เป็นสหกรณ์ระดับอำเภอที่มีความเข้มแข็งเป็นที่พึ่งพาของมวลสมาชิก สมาชิกสามารภเข้าถึงข้อมูลของตนเองด้วยเทคโนโลยี

หลักการและเหตุผล

ตามที่คณะกรรมการพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ (คพช.) ได้มีการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาการสหกรณ์ ฉบับที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาการสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2567-2571 และเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาสหกรณ์สำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีกรอบแนวคิดถ่ายทอดมาจากแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) เพื่อการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

สหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด เป็นองค์กรที่ได้รับความเชื่อมั่นและศรัทธาจากสมาชิกสหกรณ์ในพื้นที่อำเภอสบปราบ เป็นระยะเวลา 53 ปี มีความพร้อมในการให้บริการ มีบุคลากรมีความรู้ความสามารถ มีทักษะที่จะทำให้องค์กรดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กรเพื่อการบริการสมาชิกให้เกิดความพึงพอใจ มีสวัสดิการที่เหมาะสมเกิดความพึงพอใจในการเป็นสมาชิกสหกรณ์ คณะกรรมการดำเนินการจึงนำแผนกลยุทธ์เดิมมาทบทวนและปรับปรุงเพื่อพัฒนาสหกรณ์ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาการสหกรณ์แห่งชาติ ฉบับที่ 5 กรอบระยะเวลา 5 ปี เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสหกรณ์ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสมาชิกและสหกรณ์

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อกำหนดเป้าหมายในการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมมาใช้ในองค์กร
  2. เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากรในองค์กรและสมาชิก
  3. เอื้ออาทรต่อชุมชน

เป้าหมาย

  1. การนำเทคโนโลยีมาใช้ (Smart 4 M)
  2. ขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีให้ได้ 100%
  3. ยกระดับและสร้างสมรรถณะของการดำเนินธุรกิจในยุคปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงและการแก้ไขปัญหาให้แก่สมาชิกได้
  4. เชื่อมโยงเครือข่ายและร่วมมือกับธุรกิจภาครัฐ - ภาคเอกชน
  5. สร้างธรรมาภิบาลในสหกรณ์ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับสหกรณ์ ป้องกันการทุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีการควบคุมภายใน

วิธีการดำเนินงาน

  1. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำร่างเอกสารแผนกลยุทธ์ของสหกรณ์และแผนปฏิบัติงานสหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด
  2. คณะทำงาน วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง (SWOT Analysis) และ จากการสำรวจความคิดเห็นและความต้องการของสมาชิก เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจกำหนดเป้าประสงค์และกลยุทธ์เพื่อการพัฒนา
  3. คณะกรรมการฯ / ผู้ตรวจสอบกิจการ / ฝ่ายจัดการประชุมยกร่างแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ พ.ศ. 2565 ร่วมกันพิจารณาและกำหนดประเด็นท้าทาย กำหนดกลยุทธ์ ตัวชี้วัด (Key Performance Indicator) เป้าหมายของแต่ละเป้าประสงค์ และโครงการกิจกรรมที่จะทำให้บรรลุตามเป้าหมายและตัวชี้วัด
  4. เสนอ (ร่าง) แผนกลยุทธ์ของสหกรณ์และแผนปฏิบัติงาน พ.ศ. 2566 ต่อที่ประชุมตัวแทน สมาชิก เพื่อรับ ฟังข้อคิดเห็นเพิ่มเติม และพิจารณาให้ความเห็นชอบ
  5. เผยแพร่แผนพัฒนาสหกรณ์ พ.ศ. 2566 ฉบับสมบูรณ์ให้สมาชิกได้ทราบ
  6. ขับเคลื่อนแผนไปสู่การปฏิบัติ และติดตามควบคุมกำกับประเมินผลการดำเนินงานตามแผนฯ ในที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานทุกเดือน
  7. นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานในที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. สหกรณ์มีการนำเทคโนโลยี (Smart 4 M) มาใช้ทำให้เกิดความเชื่อมั่น ความถูกต้องแม่นยำของข้อมูล
  2. บุคลากรในองค์กรมีความรู้ความสามารถเรื่องการเข้าใช้ระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ สมาชิกสามารถเข้าถึงและตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ณ ปัจจุบันได้
  3. ชุมชนได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนของสหกรณ์ในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านศาสนา ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม

วิธีการจัดทำแผนกลยุทธ์และกระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์ของสหกรณ์

กระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์ของสหกรณ์ มีขั้นตอนของกระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์ ซึ่งวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อม โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างและกำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ กลยุทธ์ และแผนกลยุทธ์ ร่วมกัน