การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย
จากผลการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ของสหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด ประกอบไปด้วย จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของสหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด ซึ่งได้นำเอาผลการวิเคราะห์ดังกล่าวมากำหนดเป็นวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกลยุทธ์ของสหกรณ์ ซึ่งได้กำหนดไว้เป็นแผนระยะ 5 ปี ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2571 ดังนี้
วิสัยทัศน์
“สหกรณ์มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมดี ก้าวทันเทคโนโลยี มีความสุข”
พันธกิจ
จากวิสัยทัศน์ของสหกรณ์การเกษตรสบปราบ จำกัด ที่กำหนดไว้ คณะทำงานได้ร่วมกันกำหนด พันธกิจต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของสหกรณ์บรรลุวิสัยทัศน์ ดังนี้
พันธกิจที่ 1 เสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้ผู้มาใช้บริการเกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและเกิดความพึงพอใจ
- สมาชิกเกิดความภัคดีต่อสหกรณ์ที่ให้บริการ
- เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและความรู้ในอาชีพได้ง่ายโดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- สมาชิกมีความภูมิใจในความเป็นสมาชิกสหกรณ์
- เพื่อความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของสหกรณ์
- เพื่อสร้างการรับรู้เรื่องบทบาท หน้าที่ ข้อมูลทางการเงินและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์
- เพื่อสร้างความประทับใจและสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างสหกรณ์และสมาชิก
พันธกิจที่ 2 พัฒนาคนในสหกรณ์ให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม เสริมสร้างสวัสดิการให้คนของสหกรณ์
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจในงานสหกรณ์
- เพื่อให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
- เพื่อให้สมาชิกร่วมทำธุรกิจกับสหกรณ์เพิ่มขึ้น
- เพื่อให้สหกรณ์ทำงานเชิงรุก
- เพื่อประชาสัมพันธ์งานสหกรณ์ให้เป็นที่รู้จัก
พันธกิจที่ 3 สนับสนุนให้คนสหกรณ์รักษ์สิ่งแวดล้อม
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์มีความรู้ความสามารถนำแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในครัวเรือนได้
- เพื่อให้มีรายได้หมุนเวียนจากการปลูกไม้เศรษฐกิจ
- เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวเพื่อตนเองและประเทศชาติ
- เพื่อลดภาวะโลกร้อนและมีสิ่งแวดล้อมที่ดีในชุมชน
- เพื่อให้สมาชิกและเจ้าหน้าที่ดูแลต้นไม้เศรษฐกิจ
พันธกิจที่ 4 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่
วัตถุประสงค์
- เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการใช้วางแผนการดำเนินงานของฝ่ายจัดการข้อมูลสำหรับการ วิเคราะห์เบื้องต้นให้กับสมาชิกสหกรณ์ได้
- นำไปใช้ในการติดต่อสื่อสาร
- เป็นการพัฒนาบุคลากรให้ก้าวทันเทคโนโลยีสารสนเทศ
- การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเงินการบัญชีให้กับสหกรณ์
- เพื่อให้การทำงานมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
- เพื่อให้สมาชิกเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็ว
- เพื่อให้สมาชิกสามารถตรวจสอบข้อมูลและยืนยันข้อมูลได้ด้วยตนเอง